CPU Naming Guide
มาทำความรู้จักชื่อของ CPU แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ
ก่อนหน้านี้ ชื่อที่เราใช้เรียกรุ่นของ CPU ก็จะแทนด้วยตัวเลขเช่น 286, 386 หรือ 486 เป็นต้น แต่นับจากที่ทาง Intel ได้เริ่มทำการใช้ชื่อเรียก CPU ที่ไม่ใช่ ตัวเลข เพื่อให้สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ .. จากนั้นเป็นต้นมา CPU รุ่นต่างๆ ที่ออกมาหลังจากนั้น ก็มักจะมีชื่อ หรือ Codename ต่างๆ ชวนให้ปวดหัวไม่น้อย และไม่ได้มีเพียงเฉพาะแค่ทาง Intel เท่านั้น ... เจ้าอื่นๆ ทั้ง AMD , VIA ( Cyrix / IDT ), Rise หรือแม้แต่น้องใหม่ Transmeta ก็เอากับเขาด้วย ทุกๆวันนี้ หลายๆ ท่าน พอได้ยินชื่อ หรือ ได้พบเห็น Codename ต่างๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Merced, Katmai, Celeron, Joshua, Deschute, Thunderbird และ สารพัดชื่อต่างๆ ก็อาจทำให้เกิดความสับสน หรือชวนปวดหัวไม่น้อย และก็อาจพาลสงสัยไปอีกด้วยว่า เจ้า CPU ที่มีชื่อประหลาดๆ เหล่านี้ เป็นของใครกันบ้าง? มีลักษณะเด่นๆ อย่างไร? หรือ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร? เพราะฉะนั้น บทความเรื่องนี้ ผมก็จะนำเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับชื่อ Codename ของ CPU ต่างๆ ทั้งจากทางค่าย Intel , AMD , VIA , Rise และ Transmeta ครับ โดยเพื่อนๆ สามารถ Click ที่ชื่อข้างล่างนี้ เพื่อเข้าไปดูเป็นชื่อๆ หรือ อ่านตามทีละหน้าได้เลยครับ :)
Intel
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiA6qRWIz0Bl2bidQt5Pj4-WHSDnH_DpT9VEB8WZYb4o6EsLtlSGrqxfexU-Bn1k0T-pO5giCJTAKPhgnnMe0sf_wc1F1HxywLmKO7i7OTYdWKJT2gsKH3HbINpubn-A95ptGRBWY5Vfwc/s320/intel.bmp)
Intel เริ่มกันจาก ยักษ์ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสร้างความปวดเศียร เวียนเกล้าให้กับพวกเรากันก่อนนะครับ
Pentium CPU ตัวแรกในตระกูล P5 และเป็นตัวแรกที่ Intel เริ่มใช้ชื่อที่ไม่ใช่ตัวเลข เพื่อการจดลิขสิทธิ์ชื่อ CPU ของตน ไม่ให้เจ้าอื่นๆ มาพึ่งใบบุญ อ้างชื่อรุ่นของ CPU เลียนแบบได้ ซึ่งเจ้า Pentium นี้ ก็ปรากฏโฉมในราวเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1993 Pentium นี้ ถ้าใช้ชื่อเป็นตัวเลข จะใช้ชื่อ 80501 ( ไม่ใช่ 80586 แฮะ ) ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.80 ไมครอน รองรับระบบบัส 60 และ 66 MHz ใช้งานบน Socket 4 และใช้ไฟเลี้ยง ( Vcore ) 5.0 Volt แต่ต่อมาพบว่ามีปัญหาในเรื่องของการประมวลผลเชิงทศนิยม ทำให้ทาง Intel ได้ทำการแก้ไข Bug ดังกล่าว และออก CPU ตระกูลนี้มาใหม่ คือ 80502 หรือ P54 ซึ่งใช้ไฟเลี้ยง 3.3 V และลดขนาดเทคโนโลยีการผลิตลงเหลือ 0.50 และ 0.35 ไมครอน CPU รุ่นนี้ ก็มีความเร็วตั้งแต่ 75-200 MHz รองรับระบบบัส 50, 60 และ 66 MHz มี Cache ระดับ 1 ขนาด 16 K โดยแบ่งเป็น Cache สำหรับข้อมูล ( Data Cache ) ขนาด 8 K และ Cache สำหรับชุดคำสั่ง ( Instruction Cache ) ขนาด 8 K ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มาการแบ่งส่วนการทำงานของ Cache ออกเป็น 2 ส่วนเช่นนี้ สำหรับ P54 นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบ IA32 ซึ่งใช้งานบน Socket 5 ครับ โดยชุดคำสั่งต่างๆ นั้น ยังคงใช้ชุดคำสั่งหลักๆ เดิมๆ ซึ่งมีมาตั้งแต่รุ่น i386 แล้วละครับ CPU รุ่นนี้ ต่อมา หลายๆที่ ก็เรียกชื่อให้ใหม่ว่า Pentium Classic
Pentium with MMX technology หรือ Pentium MMX หรือ P55 ... ก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่งภายในของ CPU ใหม่ จากทาง Intel โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลด้าน Multimedia เข้ามาอีก 57 ชุดคำสั่ง ( 57 MMX instruction ) เจ้ารุ่นนี้ ได้เริ่มเปิดตัวในวันที่ 8 มกราคม ปีค.ศ. 1997 Pentium MMX นี้ ใช้สถาปัตยกรรมการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 เป็น 2 เท่าของ Pentium รุ่นแรก คือมีขนาด 32K นอกจากนี้ก็ยังได้ลดขนาดของไฟเลี้ยงเหลือเพียง 2.8 Volt และก็มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของไฟเลี้ยงอีกนิดหน่อยเรียกว่าเป็น Dual Voltage ซึ่ง Mainboard ที่จะใช้กับ Pentium MMX ได้นั้น จะต้องรองรับการจ่ายไฟเลี้ยงแบบนี้ และมี Interface เป็น Socket 7 ... CPU Pentium MMX นี้ ก็มีความเร็วตั้งแต่ 166 MHz ถึง 233 MHz และใช้ความเร็ว Bus ของระบบเป็น 66 MHz
Tillamook เจ้า CPU ชื่อประหลาดตัวนี้ อาจไม่ค่อยคุ้นหูเราๆ ท่านๆ สักเท่าไร เพราะเป็น CPU สำหรับเครื่อง Notebook น่ะครับ ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือ Pentium MMX นี่เองละครับ หากแต่ได้มีการลดขนาดเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอน และลดขนาด ของไฟเลี้ยงลงอีกด้วย โดย CPU รุ่นนี้จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 133 MHz ถึงมากกว่า 266 MHz ทำงานด้วยระบบบัสความเร็ซ 60-66 MHz เป็น Package แบบ TCP และ MMC เริ่มปรากฏโฉมเมื่อ 8 มกราคม ปีค.ศ. 1997 ครับ
Pentium Pro เป็น CPU ในตระกูล P6 ตัวแรก และก็เป็น CPU ตัวแรกอีกเช่นกัน ที่ทาง Intel ได้ย้ายเอา Cache ระดับ 2 มาไว้รวมกับแกนหลัก ของ CPU เลย ทำให้ Cache ระดับ 2 นี้ทำงานด้วยความเร็วเท่าๆ กับ CPU ด้วย ซึ่งผลที่ได้นั้น ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นอย่างมาก แต่ว่า ก็ทำให้ราคาของ CPU นั้นอยู่สูงเอามากๆ Pentium Pro นี้ เริ่มวางตลาดในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1995 ซึ่งก็มีทั้งแบบที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.50 และ 0.35 ไมครอน ซึ่งในช่วงหลัง ก็ได้เพิ่มขนาดของ Cache ระดับ 2 อีกหลายขนาด เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทั้งขนาด 256K, 512K, 1024K และ 2048K ซึ่งราคานั้นก็จะแพงขึ้นตามขนาด แต่ว่า Cache ระดับ 1 นั้น ยังคงมีอยู่เพียง 16K เท่าๆ กับ Pentium Classic ส่วน CPU นั้นก็มีความเร็วตั้งแต่ 150 ถึง 200 MHz ด้วยความเร็วบัสของระบบเป็น 60-66 MHz ใช้งานบน Socket 8 เท่านั้น Pentium Pro นี้จะใช้ชุดคำสั่งแบบเดียวกันกับ Pentium Classic ซึ่งยังคงไม่รองรับชุดคำสั่ง MMX ครับ ... และด้วยราคาที่แพงมโหฬารของมัน ก็เลย ทำให้มันไม่ค่อยบูมในตลาดสักเท่าไร โดยมากที่ใช้กัน ก็จะใช้กันในหมู่เครื่อง Server ซะมากกว่า แต่สุดท้าย มันก็ลาโลกไปอย่างเงียบๆ ครับ
Pentium II ถือกำเนิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี่ ค.ศ. 1997 เป็น CPU ในตระกูล P6/x86 รุ่นถัดมาจาก Pentium Pro ซึ่งชื่อนี้ ก็จัดว่าเป็นชื่อกลางๆ ที่หมายรวมถึง CPU หลายๆ รุ่นแบ่งตามลักษณะของตลาด โดยที่ตลาดระดับกลาง ถึงระดับสูง ก็จะลุยด้วย Pentium II ( Klamath, Deschutes, Katmai ( Pentium !!! รุ่นแรก )) และสำหรับตลาดระดับกลางถึงระดับล่าง คือพวก Celeron ( ทั้งพวก Covington, Mendocino, Dixon เป็นต้น ) ส่วนตลาดระดับ Server / Workstation นั้น ก็คือพวก Xeon ( Xeon, Tanner, Cascades เป็นต้น ) ซึ่งก็มีทั้งแบบที่ใช้งานบน Interface แบบ Slot-1, Slot-2 หรือ Socket 370 เจอชื่อเยอะๆ อย่างนี้ ก็เริ่มสับสนแล้วสินะครับ ... เพราะงั้น เรามาดูกันถึงแต่ละชื่อ แต่ละรุ่นกันเลยดีกว่าครับ
Klamath เป็นชื่อของ CPU Pentium II ตัวแรกของตระกูลนี้ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ก็เลยทำให้ความเร็วของมันไม่ประทับใจแฟนๆ เท่าไร คืออยู่ที่ 233-300 MHz ใช้ความเร็วบัส ( ซึ่งในช่วงนี้เอง คำว่า FSB-Front Side Bus ก็เริ่มนำเข้ามาใช้แทนคำว่า บัสของระบบ ) ที่ 66 MHz มี Cache ระดับ 2 อยู่ในบรรจุภัณฑ์เดียวกัน CPU โดยอยู่บนแผง PCB ( Print Circuit Board ) เดียวกัน ไม่ได้รวมเข้าไว้กับ Core CPU เหมือนกับ Pentium Pro ทำให้ Cache ระดับ 2 นี้ ทำงานด้วยความเร็ว เป็นครึ่งหนึ่งของ CPU โดยมี Cache ระดับ 1 ขนาด 32K ทำงานด้วย Vcoe 2.8 Volt. และเจ้าตัวนี้เอง ก็เป็นตัวแรกที่มีการใช้ Package และ Interface แบบใหม่ นั่นคือบรรจุภัณฑ์แบบ SECC ( Single Edge Contact Cartridge ) และใช้ Interface แบบ Slot-1 ... เจ้าตัวนี้ ได้ลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1997
Deschutes เป็น Pentium II ตัวถัดมา ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจาก Klamat เดิม โดยลดขนาดการผลิตลงมาเหลือเพียง 0.25 ไมครอน และใช้ไฟเลี้ยง 2.0 Volt. มีรุ่นความเร็วตั้งแต่ 266 MHz ถึง 450 MHz ใช้ FSB 66 MHz ( สำหรับรุ่น 266, 300, 333 MHz ) และ FSB 100 MHz ( สำหรับรุ่น 350, 400, 450 MHz ) มี Cache ระดับ 1 ขนาด 32 K และ Cache ระดับ 2 ขนาด 512K เหมือนๆ กับรุ่น Klamat และยังคงใช้งานบน Interface แบบ Slot-1 โดยเริ่มวางตลาด เมื่อ 26 มกราคม ปี ค.ศ. 1998 ต่อมาในช่วงหลังๆ ทาง Intel ก็ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ CPU Pentium II รุ่นนี้อีกเล็กน้อย แต่ยังคงใช้ Core เดิม เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางกายภาพภายนอก กล่าวคือ เปลี่ยนมาใช้ Cartridge ที่หุ้ม PCB ของ CPU ใหม่ เป็น SECC2 ซึ่งเปิดแผง PCB ด้านหลังโล่ง เพื่อลดต้นทุนการผลิตลงอีก และมีการวางตำแหน่งของ Cache ระดับ 2 ไว้ที่ PCB ด้านเดียว ( จากก่อนหน้านี้จะวางไว้ทั้ง 2 ด้านเลย ) รวมถึงมีการเปลี่ยนตัวยึดพัดลมและฮีทซิงค์ใหม่อีกด้วย
Tonga ชื่อนี้ คงไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตากันสักเท่าไร ผมเองก็เพิ่งเคยเจอก็คราวที่เขียนบทความนี้ละครับ .. จากข้อมูล ก็พบว่า เจ้า Tonga นี้ คือ Pentium II สำหรับเครื่อง Notebook นั่นเองครับ ( Mobile Pentium II ) ซึ่งทาง Intel นั้น ไม่ได้เน้นถึงชื่อของมันสักเท่าไร เพราะฉะนั้นเราๆ ท่านๆ ถึงได้ไม่คุ้นชื่อมันละครับ เจ้า Tonga นี้ ใช้ Core เดียวกันกับ Pentium II Deschutes คือใช้เทคโนโลยีการผลิต ขนาด 0.25 ไมครอน มีความเร็วตั้งแต่ 233 MHz ถึง 300 MHz และมากกว่านั้น ใช้ FSB 66 MHz เท่าๆ กัน ใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ Mini Cartridge Connector และ Mobile Module Connector 1 และ 2 ( MMC-1 และ MMC-2 ) ... ปรากฏโฉม เมื่อวันที่ 2 เมษายน ปี ค.ศ. 1998
Katmai หรือ Pentium !!! รุ่นแรก ... เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อมาจาก Deschutes โดยสถาปัตยกรรมหลักๆ นั้นก็ยังคงใช้จาก Deschutes เช่นเดิม หากแต่มีการเพิ่มเติมชุดคำสั่งเพื่อช่วยในการประมวลผลด้านต่างๆ เข้าไปอีก ที่เรียกว่า SSE ( Screaming Cindy .. อุ๊ป .. Streaming SIMD Extension ) ซึ่งนอกจากจะทำงานร่วมกับชุดคำสั่ง MMX เดิมแล้ว ก็ยังช่วยในการทำงานด้านต่างๆ อีกด้วย โดยยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอนเท่าเดิม มีตั้งแต่รุ่น 450 MHz ถึง 600 MHz ( ใช้ FSB 100 MHz ) มี Cache ระดับ 2 ขนาด 512K ทำงานด้วยความเร็วเท่ากับ FSB อยู่ในบรรจุภัณฑ์ แบบ SECC-2 ต่อมาทาง Intel ได้เลื่อนกำหนดการเปิดตัว Coppermine ออกไป จึงได้ส่ง Pentium !!! Katmai แต่ใช้ FSB 133 MHz ลงตลาดแทน โดยสถาปัตยกรรมหลักอื่นๆ นั้น ก็ยังคงเดิม เปลี่ยนเพียงแค่ FSB ที่ใช้เท่านั้น มีอยู่ 2 รุ่น คือ 533 MHz และ 600 MHz โดยใช้ตัวอักษร "B" ต่อท้ายเลขความเร็วของ CPU เพื่อป้องกันความสับสนกับรุ่นก่อนหน้านี้ ( เป็น 533B MHz และ 600B MHz ) และเริ่มวางตลาดในราวเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1999
Celeron เจ้า CPU ตัวนี้ ถือว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบการตลาดของ Intel เลยก็ว่าได้ เพราะจากที่ปล่อยปะละเลยตลาดระดับล่าง ให้เจ้าอื่นๆ ถลุงกันเป็นว่าเล่น โดยที่ตัวเองกลับไปเน้นแต่ตลาดระดับบนซึ่งมีลูกค้าน้อยกว่าตลาดระดับล่าง มาคราวนี้ทาง Intel ก็เลยต้องลุยตลาดระดับล่างด้วย โดยอาศัย CPU ราคาถูก ที่ตัดเอาส่วนที่มีราคาแพงของ Pentium II ออกไป นั่นก็คือ Cache ระดับ 2 นั่นละครับ ผลที่ได้ก็คือทำให้ราคานั้นถูกลงมากว่าครึ่งเลยละครับ ( ที่ความเร็วเท่าๆ กัน ) แม้ต่อมาจะได้มีการเพิ่มเติม Cache ระดับ 2 ใส่เข้าไปบ้าง แต่ก็ใส่ในจำนวนน้อย ก็ทำให้ราคาที่เพิ่มนั้นไม่สูงขึ้นมาอีกเท่าไร ... CPU ในตระกูล Celeron นี้หลายตัวด้วยกัน ทั้ง Covinton, Mendocino และ Dixon โดย CPU Celeron ตัวแรกนั้นลืมตาดูโลกเมื่อราวๆ เมษายน ปี ค.ศ. 1998 และก็มีทั้งที่ใช้ Interface แบบ Slot-1 แบบ Pentium II, Pentium !!! และแบบที่ใช้ Interface แบบ Socket 370
Covington ลงลุยสนามเมื่อวันที่ 15 เมษายน ปี ค.ศ. 1998 จัดเป็น CPU ในตระกูล Celeron ตัวแรก ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมภายแบบเดียวกับ Pentium II Deschutes ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน และมีวางตลาดอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz มี Cache ระดับ 1 ขนาด 32 K แต่ไม่มี Cache ระดับ 2 เลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งใน และ นอก CPU เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ใช้ไฟเลี้ยงขนาด 2.0 V. ใช้ Interface แบบเดียวกับ Pentium II คือ Slot-1 แต่ใช้บรรจุภัณฑ์ต่างจาก Pentium II นิดหน่อย คือไม่มีตลับ Cartridge พลาสติกหุ้มแผง PCB แต่อย่างใด ... เรียกบรรจุภัณฑ์แบบนี้ว่า SEPP ( Single Edge Pin Package ) ด้วยความที่มันไม่มี Cache ระดับ 2 นี่เอง แม้ว่าจะใช้ Core เดียวกับ Pentium II Deschutes และมีราคาถูกก็จริง แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะประสิทธิภาพโดยรวมนั้น ไม่ประทับใจแฟนๆ เท่าไร กับเกมส์นั้น ก็จัดว่าดี แต่กับ Application อื่นๆ โดยเฉพาะพวก Office Application ต่างๆนั้น ทำได้แย่เอามากๆ .. ดังนั้น มันจึงไม่เป็นที่นิยมนัก
Mendocino หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จกับ Covington ทาง Intel จึงได้แก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยคราวนี้ ก็ได้ใส่เอา Cache ระดับ 2 เข้าไว้ด้วย แต่ถ้าใส่มาก ก็จะทำให้ราคาแพงมากเช่นกัน ดังนั้นทาง Intel จึงใส่เพียง 128K เท่านั้น แต่เอาไปใส่ไว้บนแผ่น Die เดียวกันกับ CPU เลย เรียกว่า On-Die L 2 Cache ทำให้มันทำงานด้วยความเร็วเท่าๆ กันกับ CPU เลย ( ต่างกับ Cache ของ Pentium II ที่ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง ของ CPU ) เริ่มลุยตลาดเมื่อ 8 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1998 ในช่วงแรกนั้น Mendocino ที่วางจำหน่าย ก็ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ SEPP และใช้ Interface แบบ Slot-1 เช่นเดิม ( ตั้งแต่รุ่น 300A - 433 MHz ... Intel ได้ใช้ตัวอักษร A ต่อท้ายความเร็ว เพื่อแยกความแตกต่างกับ Celeron รุ่นเก่า Covington ) แต่ต่อมา ก็ได้หันมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่เรียกว่า PPGA ( Plastic Pin Grid Array ) และหันมาใช้ Interface เป็นแบบ Socket 370 pin แทน ซึ่ง Celeron ที่เป็น PPGA ยังคงใช้ไฟเลี้ยง 2.0 Volt เช่นเดิม โดยเริ่มที่ความเร็ว 300A เช่นกันและ ณ ปัจจุบัน ( ไตรมาสแรกของปี 2000 ) ก็มาถึงระดับความเร็ว 533 MHz แล้ว ทาง Intel นั้นได้พยายามหันมาให้ Celeron ใช้งานบน Socket 370 แทน โดยค่อยๆ เริ่มการแทนที่ไปเรื่อยๆ จน ณ ปัจจุบันนี้ก็ยกเลิกสายการผลิต Celeron แบบที่เป็น SEPP ( Slot-1 ) ไปเรียบร้อยแล้ว
Dixon ก็คือ Celeron ที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง แต่ว่ารุ่นนี้ใช้สำหรับ Mobile PC ครับ ( ก็เครื่อง Notebook นั่นหละ ) ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 ขนาด 32KB และมี Cache แบบ On-Die เช่นเดียวกับ Mendocino แต่ต่างกันตรงที่ว่า Dixon นั้น มี Cache ระดับ 2 มากกว่า Mendocino เป็นเท่าตัวครับ คือมี 256 K มีความเร็วเริ่มต้นที่ 300 MHz ( 300A ) ถึง 500 MHz ใช้ FSB เป็น 66 MHz
Coppermine ( SECC-2 ) คือ Pentium !!! รุ่นใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.18 ไมครอน ใช้ไฟเลี้ยง 1.65 Volt และได้มีการรวมเอา Cache ระดับ 2 เข้าไว้ใน Chip ของ CPU ขนาด 256KB ( เรียก On-Chip Cache ) ซึ่งจะทำให้ Cache นั้น ทำงานด้วยความเร็วเท่าๆ กับ CPU เลย Interface ที่ใช้นั้น ก็มีทั้งที่เป็น Slot-1โดยใช้บรรจุภัณฑ์แบบ SECC-2 ซึ่งรุ่นนี้นั้นก็เริ่มตั้งแต่ความเร็ว 533 MHz ( 533EB MHz ) และ รุ่นที่ใช้กับ Socket 370 ใหม่ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป Coppermine นั้น มีทั้งรุ่นที่ใช้ FSB 133 MHz และ 100 MHz ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ทำความเร็วได้ถึงระดับ 1 GHz แล้ว ซึ่งก็คาดว่าจะวางจำหน่ายจริงๆ ในครึ่งปีหลังนี้ และรุ่นนี้ ก็จะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้ว สำหรับ Interface แบบ Slot-1
Coppermine ( FC-PGA ) เป็น CPU Coppermine ที่หันกลับมาใช้ Interface แบบ Socket อีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ทำให้ราคานั้นต่ำกว่า รุ่นที่ใช้ Interface แบบ Slot-1 อยู่บ้าง ... คำว่า FC-PGA นั้น มาจาก Flip-Chip Pin Grid Array ซึ่งมีการจัดวางตำแหน่งของ Pin ใหม่ ทำให้มันใช้งานกับ Socket 370 เดิม ที่ใช้กับ Celeron ไม่ได้ ( ซึ่งปัจจุบัน ผู้ผลิต Mainboard ต่างๆ ก็ได้ทำการ Modify ตรงนี้แล้ว เพื่อจะได้รองรับทั้ง 2 แบบนี้ ) Coppermine รุ่น FC-PGA นี้ ก็มีทั้งรุ่นที่ใช้ FSB 100 และ 133 MHz โดยเริ่มต้นที่รุ่น 500 MHz ( 500E MHz ) ซึ่งรุ่นที่มีความเร็วต่ำกว่า 600 MHz นั้น จะไม่รองรับการทำงานแบบ SMP ( Symmetric Multi-Processor ) ด้วย ... CPU รุ่นนี้นั้น ใช้ไฟเลี้ยงน้อยกว่าแบบ SECC-2 คือ ใช้เพียง 1.60 Volt เท่านั้น
Tualatin ก็คือ Pentium!!! อีกเช่นเคย หากแต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต ลดขนาดมาเหลือ 0.13 ไมครอน โดย ทาง Intel จะออกรุ่นนี้ มาเป็นตัวช่วยลดช่องว่าง ระหว่าง Pentium!!! Coppermine กับ Pentium4 Willamette นั่นเอง โดยมีทั้งรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC ( รุ่น 1.13 และ 1.2 GHz ) จะออกสู่ท้องตลาด ในราวไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2001 โดยเจ้า Tualatin ในรุ่นนี้นั้น นอกจากขนาดของเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลงแล้ว ก็แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไปจาก Coppermine เดิมเลย .. ส่วน Tualatin ในรุ่น Mobile PC นั้น จะต่างจากเดิมนิดหน่อย เพราะจะเริ่มกันที่ระดับความเร็ว 1.06 GHz และ มี Cache ระดับ 2 ที่มากกว่าแบบ Desktop คือ 512KB อีกด้วย
Coppermine 128K ดูจากชื่อแล้ว อาจทำให้แปลกใจเอาเหมือนกันนะครับ เพราะจริงๆ แล้ว ชื่อนี้ ก็ยังไม่เป็นทางการนัก บ้างก็เรียกว่าเป็น Celeron III ด้วยซ้ำ เพราะว่ามันก็คือ Celeron ที่ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.18 ไมครอน และจับเอาชุดคำสั่ง SSE ที่มีใน Pentium !!! มาใส่รวมไว้ด้วยนั่นเอง หรืออาจจะมองว่าเป็น Pentium !!! Coppermine ที่ลดขนาดของ Cache ระดับ 2 ลงเหลือ 128K แล้วใช้ Interface และ บรรจุภัณฑ์แบบเดียวกับ Celeron คือ เป็น PPGA 370 ก็ได้ละครับ ... คาดว่า น่าจะมีการเปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ประมาณช่วงปลายๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 ด้วยความเร็วระดับ 566 MHz โดยเจ้า Celeron รุ่นนี้ จะยังคงใช้ FSB เป็น 66 MHz จนกระทั่งถึงรุ่น 766 MHz และหลังจากนั้น คือรุ่น 800 MHz เป็นต้นไป จะหันมาใช้ FSB เป็น 100 MHz แล้วละครับ
Celeron Tualatin เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ Celeron รุ่นใหม่ ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิต เหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลัก คือ Tualatin นั่นเอง โดยรุ่นนี้ จะใช้ FSB เป็น 100 MHz และมี Cache ระดับ 2 ขนาดใหญ่กว่าเดิม คือ 256 KB อีกด้วย ... จะมีความเร็วเริ่มต้น กันที่ระดับ 1 GHz เลยทีเดียว ... เจ้า CPU ตัวนี้ บ้างก็มองว่า จริงๆ แล้วก็คือ Pentium!!! Tualatin ที่ทาง Intel เขี่ยมาเล่นในตลาดระดับล่างแทน เพื่อยกตลาดระดับกลางและสูงให้กับ Pentium4 ต่อไปนั่นเอง
Timna ชื่อแปลกชื่อนี้ จริงๆ แล้ว ก็คือ Coppermine 128K ข้างต้นนี้เอง แต่มันไม่ได้เป็นเพียง CPU อย่างเดียว เพราะได้มีการรวมเอา ส่วนประมวลผลด้าน Graphic และส่วนควบคุมหน่วยความจำเข้าไว้ใน Chip เดียวกันเลย มองง่ายๆ มันก็คือ เป็นทั้ง CPU และ Chipset และ Graphic Chip ในตัวเดียวกันเลยละครับ ซึ่งเมื่อรวมเอาทุกๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกันอย่างนี้ ก็ลดต้นทุนการผลิตลงได้อีกไม่น้อย ดังนั้น เจ้า Timna นี้ ทาง Intel จึงหมาย จะเอามันมาลุยในตลาดระดับล่าง ใช้งานกับเครื่อง PC ราคาถูก มีความเร็วเริ่มต้นที่ 667 MHz ... ปัจจุบัน โครงการณ์ Timna นี้ ก็ได้ยกเลิกไปแล้วละครับ
Timna 2 เกิดจากความที่ทาง Intel ยังไม่อยากยอมแพ้กับ Integrated Processor หรือ Timna และด้วยการมองตลาดไปข้างหน้า พบว่า กระแสของ Notebook ที่จะใช้ CPU ประเภทนี้ มีโอกาสสูงมาก ทำให้เกิดโครงการณ์ Timna2 ขึ้นมาอีกครั้ง โดยที่เจ้า Timna2 นี้ จะใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดิมของ Pentium !!! ( Coppermine ) แต่ได้เพิ่มเติมในส่วนของการคำนวนเชิงตรรก หรือ ALU ให้มากขึ้น และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิต 0.13 ไมครอน ผนวกกับ Speedstep นอกจากนั้น ยังให้มี Cache ระดับ 2 มากขึ้น เป็น 512 KB และรวมเอาชุดคำสั่ง SSE2 ที่มี ใน Pentium 4 เข้าไปอีกด้วย ที่สำคัญ จะใช้งานกับ DDR SDRAM ละครับ
Xeon คือ CPU ที่ Intel เน้นมาให้ใช้งานเป็น Server / Workstation เป็นหลัก แทน Pentium Pro และได้มีการเปลี่ยน Interface ใหม่อีก มาใช้เป็น Slot-2 ซึ่งเจ้า Xeon นี้ สามารถทำงานแบบ Multi-Processor ได้ ( คือสามารถใช้ CPU รุ่นนี้หลายๆ ตัว พร้อมๆ กันบน Mainboard เดียวกันได้ เพื่อช่วยแบ่งโหลดของงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลขึ้นอีก ) Xeon รุ่นแรกนี้ จะใช้
Deschutes Core เหมือนๆ กับ Pentium II ใช้เทคโนโลยีการผลิต ขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 2 ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกัน กับ CPU เลย ด้วยขนาดตั้งแต่ 512, 1024 และ 2048K แต่ว่า มี Cache ระดับ 1 เพียงแค่ 32 K ซึ่งราคาของ Xeon นี้ ก็สูงเอามากๆ ยิ่งรุ่นที่มี Cache มากๆ ก็ยิ่งแพงจนแทบจะดาวน์รถยนต์กันแบบผ่อนสบายๆ ได้เลยละครับ
Tanner ก็คือ Xeon ภาค Pentium !!! เพราะว่า ใช้ Core ใหม่ คือ Katmai Core ซึ่งจากที่กล่าวไปแล้ว ก็คือว่ามันคือ Deschutes ที่รวมเอาชุดคำสั่งพิเศษ ที่เรียกว่า Streaming SIMD Extension หรือสั้นๆ ว่า SSE เข้าไปนั่นเอง ซึ่ง CPU รุ่นนี้ ก็จะใช้งานในระดับ Hi-End Server ละครับ ด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ ระดับ 500 MHz ( FSB 100 MHz ) และก็เหมือนกับ Xeon รุ่นแรก ก็คือมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ( ซึ่งเป็น CSRAM ) ให้เลือก 3 ขนาดด้วยกัน คือ 512, 1024 และ 2048K ครับ
Cascades เจ้าตัวนี้ ก็คือ Xeon ภาค Coppermine นั่นละครับ เพราะใช้เทคโนโลยีในการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน และได้รวมเอา Cache ระดับ 2 เข้าไว้ ใน Chip เรียกเป็น On-Chip Cache ด้วยขนาด 256KB เท่าๆ กับ Pentium !!! Coppermine เลยละครับ แต่ว่า เขาใช้กับ Slot-2 ละครับ ... ซึ่งรุ่นแรกนั้น มีความเร็ว 600 MHz ใช้ FSB 133 MHz และที่สำคัญใน Version แรกๆ นั้น จะต้องใช้งาน CPU เป็นคู่ครับ ถึงจะใช้งานได้ ... คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 2000 นี้ ก็จะทำความเร็วได้ถึง 866 MHz และเพิ่มระดับของ Cache ระดับ 2 ได้มากถึง 2048K ละครับ
Willamette Pentium 4 ตัวแรก ..จะเป็น CPU ที่พัฒนาต่อจาก Coppermine โดยยังคงเป็น CPU ในสถาปัตยกรรมแบบ IA-32 อยู่เช่นเคย มีการใช้ System Bus แบบใหม่ ที่เรียกว่า Quad Pumped กล่าวคือ แม้จะใช้ความเร็วบัสของระบบเป็น 100 MHz แต่ว่า ความเร็วบัสภายในของ CPU จะเป็นถึง 400 MHz เลยละครับ ... เจ้า Willamette นี้ แรกเริ่มเดิมที ก็ว่าจะมาพร้อมๆ กับ Cache ระดับ 1 ขนาด 256K และมี Cache ระดับ 2 ในระดับ 1024K หรือน้อยกว่า ... แต่พอเปิดตัวมาจริงๆ ภายใต้ชื่อของ Pentium 4 ก็หันมาใช้ Cache ระดับ 1 ขนาด 64 KB และมี Cache ระดับ 2 เพียง 256 KB เกือบๆ จะเหมือนกับ Pentium!!! เลยด้วยซ้ำละครับ นอกจากนี้ ทาง Intel ก็ยังได้ทำการปรับปรุงในส่วนของการประมวลผลต่างๆ ด้วย ทั้งการเพิ่ม Buffer หรือ เพิ่มหน่วยการถอดรหัส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ยิ่งขึ้นไปอีก หรือก็คือได้ทำการปรับปรุงชุดคำสั่ง Screaming Cindy อุ๊บ Streaming SIMD eXtension หรือ SSE ซะใหม่ เป็นรุ่นที่ 2 หรือ SSE2 ซึ่งก็มีการล้อเลียนว่า เป็น Screaming William โดยในรุ่นแรกๆ นั้น ทาง Intel จะยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน แต่ในรุ่นถัดไปนั้น จะลดขนาดลงมาอีก ให้เหลือเพียง 0.13 ไมครอนเท่านั้น ซึ่งความเร็วเริ่มต้นของมัน ก็คาดว่าจะเริ่มกันที่ 1 GHz หรือมากกว่าเลยละครับ และอาจใช้งานบน Interface ใหม่ ที่ ณ ขณะนี้เรียกว่าเป็น Socket 423 ครับ .. ส่วนกำหนดการวางตลาดนั้น ก็เริ่มวางตลาดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001 .. โดยเริ่มต้นความเร็วกันที่ 1.3 GHz และ รุ่นนี้ ทาง Intel จะให้หมดที่ความเร็ว 2.0 GHz
Northwood เป็น Pentium4 ในรุ่นที่ 2 ที่คาดว่าจะเริ่มออกสู่ตลาดในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 หรือต้นปี ค.ศ. 2002 โดยเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน มีการเพิ่มขนาดของ Cache ระดับ 2 ให้ใหญ่ขึ้นเป็น 512KB และหันไปใช้ Interface ใหม่อีก ที่เรียกว่า Socket 478 มีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 2.2 GHz CPU ตัวนี้ ข้อมูลยังไม่แน่ชัดเท่าไรนัก บ้างก็บอกว่าเป็น CPU Willamette ที่เป็น Version สำหรับเครื่อง Mobile PC ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.13 ไมครอน แต่บ้างก็บอกว่าเป็น CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ IA-64 ( Willamette เป็น IA-32 ) ที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 2 GHz หรือมากกว่า ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวกันในช่วงปี 2001 ( ราวๆ ปลายปี )
Foster เป็น Willamette สำหรับ Server ครับ มาแทนที่ตระกูล Xeon ทั้งหลาย โดยจะเป็น CPU สำหรับ Server ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ IA-32 ตัวสุดท้ายของ Intel ก่อนที่จะขยับไปใช้ IA-64 แทน โดยจะรองรับความเร็วบัสของระบบ ( FSB ) ที่มากถึง 400 MHz .. มีขนาดของ Cache ระดับ 1 และ ระดับ 2 ที่มากกว่า Willamette อย่างเห็นได้ชัด และจากข้อมูลล่าสุด ก็พบว่า Foster นี้ อาจจะมาพร้อมๆกับ Cache ระดับ 3 ขนาด 512KB และ 1MB อีกด้วย โดยมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ระดับ 1.6 GHz โดยคาดว่า จะออกสู่ท้องตลาดในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 ... นอกจากนี้ ยังมีข่าวลือว่าอาจจะหันไปใช้ Interface แบบใหม่ ( อีกแล้ว ) ที่เรียกว่า Slot-M ซึ่งจะรองรับ การใช้งานร่วมกันได้มากถึง 4 และ 8-way เลยทีเดียว
Itanium/Merced Itanium หรือเดิมมีชื่อว่า Merced ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น ก็คาดว่าจะเป็น CPU ตัวใหม่ ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ IA-64 .. แต่สุดท้าย ในงาน IDF เมื่อราวเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 2001 ทาง Intel ก็ได้ประกาศแน่ชัดแล้วว่า ชื่อ Itanium นี้ จะเป็นชื่อที่เรียกรวมๆ ของ CPU ที่ใช้ สถาปัตยกรรมแบบ IA-64 นั่นเอง เหมือนๆ กับที่เรียก ทั้ง Katmai, Coppermine หรือ Tualatin รวมๆ ว่าเป็น Pentium !!! นั่นเองละครับ ... โดย CPU ในสาย Itanium ตัวแรกนี้ ก็คือ McKinley นั่นเอง
McKinley เป็น CPU ในสาย Itanium ตัวแรกของสถาปัตยกรรมแบบ IA-64 ซึ่ง เป็น CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ IA-64 ตัวแรกของทาง Intel ในสาย Itanium โดยที่ในส่วนของ Hardware นั้น ก็จะยังคงสนับสนุนระบบ IA-32 ด้วย จะมาพร้อมๆ กับหน่วยความจำ Cache ระดับ 3 ขนาด 2-4 MB ซึ่งให้ประสิทธิภาพโดยรวมที่เร็วกว่า Tanner ถึง 3 เท่า และอาจให้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า Pentium Pro ในด้านการประมวลผลเชิงทศนิยมถึง 20 เท่าเลยละครับ รุ่นแรกๆ ของ McKinley นี้ อาจยังคงใช้เทคโนโลยีในการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ความเร็วบัสของระบบเป็น 400 MHz ( QDP ) ใช้งานบน Interface แบบ Slot-M และแน่นอน มีชุดคำสั่งทั้ง MMX และ SSE พร้อม SSE- 2 คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 2002 โดยเริ่มต้นด้วยความเร็วระดับ 1 GHz หรือมากกว่า และในรุ่นถัดๆ ไป ก็จะลดลงเหลือ 0.13 ไมครอน ใช้งานอยู่บน Interface แบบ Slot-M และใช้งานกับ Chipset i870 ( Colusa ) เช่นเดียวกับ Foster ครับ
Deerfield CPU ในตระกูล IA-32 อีกที ซึ่งจะเป็น CPU ที่จะมาแทน Pentium4 ( Pentium5 ? ) โดยจะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้ทองแดง เป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) .. จะเริ่มลุยตลาดในราวปี ค.ศ. 2005
Madison ก็คือ Deerfield ในภาคของ Server นั่นเอง .. โดยจะมาแทนที่ CPU ในสาย Xeon ( Foster ) ซึ่งจะออกสู่ท้องตลาดในปีค.ศ. 2005 เช่นเดียวกันกับ Deerfield
Gallatin ชื่อนี้ ยังคงเป็นปริศนาอยู่ครับ ทราบแค่เพียงว่า จะเป็น CPU สำหรับ Server/Workstation ที่จะมาในต้นปี ค.ศ. 2002 ครับ สำหรับ Intel ก็คงหมดกันที่เท่านี้ครับ ต่อไปเรามาดูของเจ้าอื่นๆกันต่อบ้างนะครับ :)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEir01pLyVMNpqq7dQEQ3DAkPFOti1GaSJ_VTQDfKCYjvwrtzShmkqaIOT4zOWHnnwN3xbtM2dvYPvif-da-MZeevCIgCQ4-3wzpD1buLan485K267i6soFyAvwmBV5JQBKKFCn3_m0lYx0/s320/amd-logo.gif)
AMD กับคู่รัก คู่แค้นตลอดกาลกับทาง Intel
... จนแทบจะเรียกได้ว่า เจ้าอื่นๆ จะเป็นอย่างไร จะนำไปเท่าไร ข้าไม่ว่า อย่าให้เป็น Intel นำ เป็นพอ ... ทำนองนี้เลยละครับ
K5 หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz
K6 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน
K6-2 เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผลด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว
Sharptooth (K6-III) ก็เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว
K6-2+ จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth ที่ยกเลิกสายการผลิตไป เพียงแต่ว่า มีขนาดของ Cache ระดับ 2 เหลือเพียง 128K เท่านั้น และ CPU รุ่นนี้ จะเป็น CPU ที่ใช้ Socket 7 ตัวแรกด้วยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 533 MHz คาดว่าจะเปิดตัวในราวๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... สำหรับ CPU รุ่นนี้ บางแหล่งข่าวก็บอกว่าจะมีเฉพาะรุ่นทีใช้กับ Mobile PC เท่านั้น แต่บางแหล่ง ก็บอกว่ามีทั้ง 2 แบบเลย คือรุ่นที่ใช้กับ Mobile PC และรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC ...
K6-III+ เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel ด้วยครับ
K7 / Athlon เป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด โดยเจ้า Athlon นี้ เป็น CPU ที่มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบันนี้ นั่นก็คือ 128 K ( Instruction 64K และ Data 64K ) มี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง และ 2/5 ของความเร็วของ CPU ... มีการนำเอาระบบบัสที่ใช้กับ Processor Alpha มาใช้ กับ Athlon ด้วย คือ EV6 Bus ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ก็สามารถสร้าง Mainboard ให้รองรับ Processor ทั้ง 2 แบบนี้ได้เลยละครับ คือทั้ง Alpha และ Athlon ใช้งานบนบัสของระบบที่ 100 MHz แต่ด้วยคุณสมบัติของ EV6 Bus ก็จะทำให้ระบบบัสภายในของ CPU นั้นเป็นเท่าตัวของบัสของระบบ คือเป็น 200 MHz และคาดว่าต่อไปน่าจะทำได้สูงถึง 400 MHz หรือมากกว่านี้อีกด้วย Athlon นี้จะมาพร้อมๆ กับชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! รุ่นพัฒนา ( เรียกว่า Enhance 3DNow! ) ใช้งานบน Interface ใหม่ของทาง AMD เอง เรียกว่า Slot-A มีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz
Argon เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักของ Athlon
Thunderbird (Athlon) หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ
Palomino (Athlon) Athlon รุ่นใหม่ ( Socket A ) ที่ยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Copper Interconnect ) แต่จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz เลยทีเดียว และหันมาใช้ FSB เป็น 266 MHz ( DDR ) นอกจากนี้ ก็ยังได้พัฒนา และ ปรับปรุงขึ้น จาก Thunderbird อีกมากมาย ทั้งเรื่องของ Branch Prediction หรือเรื่องของความร้อนในขณะทำงาน ที่ลดน้อยลงกว่าเดิม หรือเรื่องของ Hardware Prefetch นอกจากนี้ก็ยังได้ทำการ Optimize ในส่วนของแกนหลัก ทั้งพัฒนาในส่วนของ FPU ( หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม ) และ ALU ( หน่วยประมวลผลเชิงตรรก ) อีกด้วย.. คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิต ในต้นปีค.ศ. 2002 และเริ่มจำหน่ายจริง ในไตรมาสถัดไป แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจมากๆ ก็คงไม่พ้นข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับทาง AMD ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เจ้า Palomino นี้ จะเป็น CPU ของ AMD ตัวแรก ที่เอาชุดคำสั่งของ Intel SSE หรือ Streaming SIMD Extension ( Katmai ) มาใช้ โดยที่เราๆ ท่านๆ ก็ได้ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าชุดคำสั่งดังกล่าว เป็นชุดคำสั่งที่ทาง Intel ได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว ถ้า AMD จะมาใช้ก็ต้องเสียค่าหัวคิวให้กับทาง Intel ... แล้ว AMD นั้น เป็นคู่แข่งกับ Intel ... อย่างนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจนะครับ
Thoroughbred (Athlon) Athlon ในรุ่นถัดจาก Palomino ( Socket A ) ที่ลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิตเหลือเพียง 0.13 ไมครอน ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายในเช่นเดิม ( Copper Interconnect ) และมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1.73 GHz เริ่มต้นสุ่มตัวอย่างผลิตในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ ผลิตเป็น Production จริงๆ ในไตรมาสแรก ในปี ค.ศ. 2002
Barton (Athlon) Barton นี้ เป็น Athlon ในรุ่นถัดจาก Thoroughbred จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.13 ไมครอน พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOI ( Silicon On Inulator ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีก
Spitfire (Duron) เป็น Athlon รุ่น Socket เพราะใช้งานบน Socket A ( Socket-462 ) เท่านั้น แต่เป็นรุ่นราคาต่ำ เพราะมีขนาดของ Cache ระดับ 2 ที่น้อยกว่า Thunderbird เหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เช่นเคย คาดว่าจะมีจำหน่ายในราว ปลายๆมาสแรก หรือต้นๆ ไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้เช่นกัน ทั้ง Spitfire และ Thunderbird ในรุ่นแรกนี้ ยังคงผลิตด้วย Aluminium และยังคงใช้ Aluminium สำหรับทำหน้าที่เป็นตัว Interconnect ด้วย แต่ Thunderbird รุ่นใหม่ที่จะหันไปใช้งานบน Socket A นั้น จะใช้ Copper ( ทองแดง ) เป็นตัวต่อเชื่อมภายในที่เรียกว่า Copper-Interconnect แล้วละครับ
Duron ก็คือ Spitfire นั่นเองละครับ เพียงแต่ ทาง AMD นั้น พอถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจริงๆ ก็กลับใช้ชื่อนี้ เป็นชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการแทนนั่นเอง
Morgan (Duron) Duron ใน Generation ที่ 2 ( Socket A )... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 900 MHz ยังคงใช้ เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.18 ไมครอน ยังคงมี Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ Cache ระดับ 2 ขนาด 64 KB แต่อาจปรับไปใช้ FSB 266 MHz ( DDR ) แทน คือ ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกันกับ Palomino นั่นเอง แต่จุดต่างกันอีกจุดหนึ่ง ก็คือยังคงใช้อลูมิเนี่ยมเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ( Aluminum Interconnect ) เช่นเดิม เริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตในไตรมาสแรกของปีค.ศ. 2002 และเริ่มส่งจำหน่ายจริงในไตรมาสถัดไป
Appoloosa (Duron) Duron ใน Generation ที่ 3 ( Socket A ) ... มีความเร็วเริ่มต้นที่ 1 GHz และหันมาใช้เทคโนโลยีการผลิตลดลงด้วยขนาด 0.13 ไมครอน และใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกับ Athlon Throughbred ต่างกันแค่ขนาดของ Cache ระดับ 2 เท่านั้นละครับ คาดว่าจะเริ่มสุ่มตัวอย่างผลิตหลังจาก Morgan ไม่นาน ( น่าจะเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีค.ศ. 2002 ) และ เริ่มจำหน่าย ในไตรมาสถัดไป
Mustang หรือ "Athlon Ultra" จะเป็น Athlon ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานระดับ Server/Workstation ใช้ Copper ในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีขนาดของ Cache On-Chip ระดับ 2 ตั้งแต่ 1-2 MB เลยทีเดียว ใช้งานบนระบบ Bus แบบ DDR FSB 133 MHz ( ก็จะเหมือนว่าทำงานด้วย Bus 266 MHz ละครับ ) และรองรับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM 400 MHz ที่ใช้ช่องความกว้างของ Bandwidth ถึง 2.1 GB เลยทีเดียว .. และเหมือนๆ กับ Thunderbird คือ รุ่นแรกจะใช้งานบน Slot-A และรุ่นต่อมาจะย้ายมาใช้ Socket A แทน เดิมทีคาดว่าจะออกสู่ท้องตลาดได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2000 ... แต่ปัจจุบัน ได้ถูกทาง AMD เขี่ยออกจาก Roadmap ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วละครับ
SledgeHammer หรือ K8 ... CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 ... เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป
ClawHammer CPU 64 Bit ( x86-64 ) ในตระกูลเดียวกันกับ SledgeHammer หากแต่เป็นรุ่นเล็กกว่า เนื่องจากลดขนาดของ Cache ภายใน และลดปริมาณการรองรับการใช้งานแบบ Multi Processor เหลือเพียงแค่ 1 หรือ 2 ทาง เท่านั้น (1-2 way) แต่รายละเอียดอย่างอื่น ก็จะเหมือนๆ กับ SledgeHammer ... ตัวนี้ ทาง AMD หมายจะเน้นมาใช้งานในตลาด Desktop PC ละครับ ... จะเริ่มสุ่มตัวอย่างทดสอบในราวไตรมาสสุดท้ายของปี ค.ศ. 2001 และ จะเริ่มผลิตเป็น Production ในราวต้นปี หรือในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2001 นอกจากนี้ ยังมีข่าวอีกว่า ทาง AMD วางแผนจะใช้ชุดคำสั่ง SSE2 ที่เพิ่มเข้ามาใน Pentium4 อีก 144 คำสั่ง มาใช้อีกด้วย แต่ว่า จะใช้กับ CPU ในตระกูล Hammer ทั้งหลาย ได้แก่ ClawHammer และ SledgeHammer อีกด้วยละครับ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgaIhhyphenhyphenicRMJeGXzpALfwdxqsNgYdKHOIxeJMd2VBAScWigX2_3jR8ENZrVbBc79DfN2rBxf5bjKzmV0CQwtwqbG-BTWarHjmHK8GuWNJzyXH3C721_ZdqPWf8WhykVNaAbb83Dssjd7dE/s320/cyrix-logo.gif)
Cyrix
Cyrix เจ้านี้ เมื่อก่อนก็มีชื่อเสียงในท้องตลาดอยู่บ้าง โดยเฉพาะในรุ่น 6x86 แต่หลังจากนั้น ก็แผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้หลายๆ ท่าน แทบจะไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ
6x86 6x86 หรือ M1 ( เอ็ม-วัน ) ... เป็น CPU ของทาง Cyrix ที่ออกมาในช่วงเวลาเดียวกับ AMD K5 ซึ่งก็ใช้ PR-Rating เป็นตัววัดประสิทธิภาพ ของ CPU เทียบกับ Intel Pentium เช่นเดียวกัน โดย PR-Rating ของ Cyrix 6x86 นี้ ก็เริ่มตั้งแต่ 120 MHz ถึง 200 MHz ซึ่ง CPU 6x86 รุ่นแรกนี้ จัดว่าเป็นรุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะมีปัญหาบ่อยมาก ทำให้ระบบแฮงค์อยู่บ่อยๆ ( อย่างนี้ น่าจะเรียกว่า 'ชื่อเสีย' นะ ) ซึ่งงานนี้ ก็ทำให้ผู้พัฒนา Software ต่างๆ ต้องพัฒนา Patch มาแก้ให้กับโปรแกรมของตน 6x86 นี้มาพร้อมกับ Cache ระดับ 1 ขนาด
16K ด้วยระบบบัส 50-75 MHz ในรุ่นแรกนั้นออกแบบมาให้ใช้งานกับ Socket 5 แต่ต่อมาก็ได้ย้าย มาใช้งานบน Socket 7
Cyrix เจ้านี้ เมื่อก่อนก็มีชื่อเสียงในท้องตลาดอยู่บ้าง โดยเฉพาะในรุ่น 6x86 แต่หลังจากนั้น ก็แผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้หลายๆ ท่าน แทบจะไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ
6x86 6x86 หรือ M1 ( เอ็ม-วัน ) ... เป็น CPU ของทาง Cyrix ที่ออกมาในช่วงเวลาเดียวกับ AMD K5 ซึ่งก็ใช้ PR-Rating เป็นตัววัดประสิทธิภาพ ของ CPU เทียบกับ Intel Pentium เช่นเดียวกัน โดย PR-Rating ของ Cyrix 6x86 นี้ ก็เริ่มตั้งแต่ 120 MHz ถึง 200 MHz ซึ่ง CPU 6x86 รุ่นแรกนี้ จัดว่าเป็นรุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะมีปัญหาบ่อยมาก ทำให้ระบบแฮงค์อยู่บ่อยๆ ( อย่างนี้ น่าจะเรียกว่า 'ชื่อเสีย' นะ ) ซึ่งงานนี้ ก็ทำให้ผู้พัฒนา Software ต่างๆ ต้องพัฒนา Patch มาแก้ให้กับโปรแกรมของตน 6x86 นี้มาพร้อมกับ Cache ระดับ 1 ขนาด
16K ด้วยระบบบัส 50-75 MHz ในรุ่นแรกนั้นออกแบบมาให้ใช้งานกับ Socket 5 แต่ต่อมาก็ได้ย้าย มาใช้งานบน Socket 7
MediaGX จัดเป็นต้นแบบของ Concept PC-On-A-Chip เลยละครับ โดยการที่รวมเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ ส่วนควบคุม Bus ต่างๆ เข้าไว้ ในตัว CPU เลย แถมยังรวมเอาหน่วยประมวลผลด้าน Graphic เข้าไว้ด้วยเช่นกัน โดยใช้หน่วยความจำของระบบ มาใช้เป็นหน่วยความจำ Frame Buffer แทน ( ที่เรียกกันว่า Share RAM นั่นละครับ ) รุ่นนี้เริ่มต้นด้วย PR-Rating ที่ 180 MHz ถึง 233 MHz มี Cache ระดับ 1 ที่ 16K ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.5 ไมครอน ซึ่งต่อมา ทาง National ก็ได้แบ่ง CPU รุ่นนี้ออกเป็น 2 รุ่น คือ
Geode GXLV ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 0.35 ไมครอน ด้วยความเร็ว 166-266 MHz
Geode GX1400 ซึ่งเพิ่มความสามารถในการรองรับ MPEG-2, Dolby AC3 และอื่นๆ ( เป็นแบบ Hardware Support )
6x86MX เป็นการเอา 6x86 เดิม มาปัดฝุ่นแล้วตบแต่งใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีการเพิ่มขนาดของ Cache ระดับ 1 เป็น 4 เท่าจากของเดิม คือเป็น 64K มีการเพิ่มชุดคำสั่ง MMX ใช้งานบนระบบบัสความเร็ว 60-75 MHz มี PR-Rating ตั้งแต่ 166 ถึง 266 MHz ... ทาง IBM ก็ได้ผลิต CPU โดยใช้ Core ของ 6x86MX ด้วยเช่นกัน มีตั้งแต่รุ่น 166-333 MHz ใช้งานบน FSB 66, 75 และ 83 MHz ต่อมา ทาง Cyrix ได้เปลี่ยนชื่อเป็น M-II แทน ในขณะที่ทาง IBM นั้น ยังคงอาศัยชื่อ 6x86MX ต่อไป จนกระทั่งหมดสัญญาการเป็นหุ้นส่วนของกัน
M-II จัดเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่จัดจำหน่ายในนามของ Cyrix ก่อนที่จะถูก VIA เข้ามาซื้อกิจการไป ... เริ่มมีการจำหน่ายในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1998 ซึ่งก็คือ 6x86MX นั่นละครับ อย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่ได้ทำการลดขนาดของเทคโนโลยีการผลิต เหลือพียง 0.25 ไมครอน และมีความเร็ว PR-Rating ตั้งแต่ 300-433 MHz
Gobi Gobi ( MII+ ) ... ก่อนหน้านี้นั้นใช้ชื่อ Codename ว่า Jedi ( เจได ) แต่ว่าชื่อนี้นั้น ทาง Lucas Film เขาได้จดลิขสิทธิ์ไปแล้ว ( จากเรื่อง StarWar ไงครับ ) ก็เลยทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็น Gobi ( โกบิ ) แทน เป็น CPU ตัวแรกที่ทาง Cyrix จะหันมาซบอก Socket 370 โดยสิ่งที่เหนือไปกว่า MII ปกติ คือ มีชุดคำสั่ง 3DNow! เข้ามาด้วย ( จากที่มีแค่ MMX อย่างเดียว ) ... ได้มีการพัฒนาหน่วยประมวลผลเชิงทศนิยมให้ดีขึ้น ( ซึ่งเดิมเป็นจุดอ่อนที่มีมาช้านาน ของทาง Cyrix ) มี Cache ระดับ 1 ขนาด 64 K และ Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับ CPU ที่ความเร็ว 256 K ซึ่งเจ้าตัวนี้ ทาง VIA ได้จัดการเปิดตัวให้ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ และจัดจำหน่ายให้ ในชื่อของ Joshua
MediaPC เป็นภาคต่อของ MediaGX บน Platform แบบ Socket 7 โดยคราวนี้ สิ่งที่พัฒนาจาก MediaGX ก็คือ มีการใช้สถาปัตยกรรมแกนหลัก แบบเดียวกับ Gobi ซึ่งก็คือ Gobi ที่รวมเอาหน่วยประมวลผลด้าน Graphic และ มีส่วนควบคุมต่างๆ เข้าไว้ใน Chip เดียวกันนั่นเอง ... ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็ไม่มีใครทราบชะตากรรมของ CPU รุ่นนี้แล้วละครับ ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือว่าถูกแบนไปแล้วก็ไม่อาจทราบได้
Cayenne เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักที่ใช้กับ Gobi และ MediaPC
Mxi เป็น Socket/PC-On-A-Chip ที่พัฒนาโดยใช้ Cayenne Core เหมือนๆ กับ MediaPC แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือ 333-400 MHz ... และก็เช่นกันอีกละครับ ยังไม่ทราบชะตากรรมของ CPU ตัวนี้เลย ว่าเป็นอย่างไร * ระดับ 1 ของ CPU Cyrix ตั้งแต่รุ่น 6x86 เป็นต้นมา จนถึง Mxi นี้ ไม่มีการแบ่งเป็น Instruction Cache และ Data Cache ครับ
Mxi เป็น Socket/PC-On-A-Chip ที่พัฒนาโดยใช้ Cayenne Core เหมือนๆ กับ MediaPC แต่มีความเร็วที่สูงกว่าคือ 333-400 MHz ... และก็เช่นกันอีกละครับ ยังไม่ทราบชะตากรรมของ CPU ตัวนี้เลย ว่าเป็นอย่างไร * ระดับ 1 ของ CPU Cyrix ตั้งแต่รุ่น 6x86 เป็นต้นมา จนถึง Mxi นี้ ไม่มีการแบ่งเป็น Instruction Cache และ Data Cache ครับ
Mojave Mojave ( M3, M-III ) ... เป็น CPU ที่ได้ทำการรื้อสถาปัตยกรรมภายในใหม่พอสมควร เริ่มจากการแบ่ง Cache ระดับ 1 ออกเป็น 2 ส่วน คือ Instruction Cache และ Data Cache แต่ได้ลดขนาดจาก 64K เหลือเพียง 32K และได้มีการนำเอา Cache ระดับ 2 มาไว้ On-Chip ขนาด 256K ใช้เทคโนโลยีในการผลิต ขนาด 0.18 ไมครอน พร้อมชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! เริ่มต้นความเร็วที่ 600-800 MHz ( เป็นความเร็วแท้ ไม่ใช่ PR-Rating ) ด้วย FSB 100-133 MHz นอกจากนี้ ก็ยังได้มีการรวมเอาหน่วยประมวลผลด้าน Graphic และ ส่วนควบคุมต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอีกด้วย ( เป็น PC-On-A-Chip ) แต่ว่า อนาคตของเจ้า Mojave นี้ ก็ดูจะลางเลือนลงไป หลังจากที่ทาง VIA นั้นได้ เข้าซื้อทั้ง Cyrix และ Centaur ไว้ทั้งคู่
Jalapeno เป็นชื่อ Codename ของสถาปัตยกรรมแกนหลักที่ใช้กับ Mojave
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhOoO6DSSjsqShxDQpvhe-Q9WEPZ_FGdqBFEESxk_9980Z8uTmjL2qHDraHbqryFPHfkkbsrZOzmWDnuS1RLOrBby1nqyKvVgMMLcuwqWa07-XUsulb4AooJOPAwReHUCk5Bq5ofs2EwIs/s320/rise-logo.jpg)
RISE ค่าย CPU ชื่อไม่คุ้นนี้ จริงๆ ก็มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 แต่เพิ่งจะเริ่มมีชื่อขึ้นมาบ้าง ก็ในปี ค.ศ. 1998 นี่เอง ส่วนทางบ้านเรานั้น คงไม่ต้องถามถึงละครับ ในตลาดพันธุ์ทิพย์นี้ แทบไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ แต่ผมเคยเห็นวางจำหน่ายที่เสรีเซ็นเตอร์เมื่อปลายๆ ปีที่แล้วครับ
mP6 เป็น CPU ตัวแรกจากค่าย Rise ที่เหมาะกับการใช้งานบน Notebook หรือ Mobile PC มากกว่า เพราะให้ความร้อนที่ต่ำ แต่ด้วยขนาดของ Cache ระดับ 1 เพียง 16K ( Instruction 8K , Data 8K ) ก็เลยหน่วงประสิทธิภาพโดยรวมของมันลงไปไม่น้อย และรุ่นนี้ ก็ยังคงเหมือนกับ CPU Socket 7 รุ่นแรกๆ ทั่วๆ ไป คือใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard ซึ่งทำงานด้วยความเร็ว เท่ากับความเร็วบัสของระบบ ใช้ค่า PR-Rating เป็นตัววัดประสิทธิภาพเหมือนๆกับทาง Cyrix โดยเริ่มต้นที่ PR-Rating 166 ถึง 366 MHz
mP6-II เป็น CPU ที่ต่างจาก mP6 ในทำนองเดียวกับที่ AMD K6-III ต่างจาก K6-2 นั่นคือ ยังคงใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดิม แต่ว่า ได้เพิ่มเอาส่วนของ Cache ระดับ 2 มารวมไว้บน Chip เดียวกับ CPU เลย ซึ่งนอกเหนือไปจากนี้ ก็คาดว่าจะสนับสนุนชุดคำสั่ง SSE ของทาง Intel อีกด้วย มีความเร็วเริ่มต้นที่ PR-Rating 200 MHz แต่ต่อมา ในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1999 ทาง Rise ก็ได้ประกาศยกเลิก การผลิต CPU รุ่นนี้ เนื่องจากต้นทุนในการเพิ่ม Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip นั้น สูงเกินไปครับ
Tiger ตัวนี้ คือ mP6-II ที่จะใช้งานบน Socket 370 ครับ โดยจะมี Cache ระดับ 1 เพียง 16K เท่าเดิม แต่มี On-Chip Cache ระดับ 2 ขนาด 256K ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU
Centaur ทั้งค่ายนี้ และ CPU ของค่ายนี้ ก็ไม่ค่อยคุ้นหู คุ้นตากันสักเท่าไร เพราะมีจำหน่ายในบ้านเราน้อยมาก และเป็นแค่ช่วงเวลาเดียวเท่านั้น ยิ่งระยะหลังๆ นี้ ไม่เจออีกเลย โดยทาง Centaur นั้น เน้นผลิต CPU ที่ราคาต่ำเอามากๆ หมายจะตีตลาดระดับล่างละครับ
Centaur ทั้งค่ายนี้ และ CPU ของค่ายนี้ ก็ไม่ค่อยคุ้นหู คุ้นตากันสักเท่าไร เพราะมีจำหน่ายในบ้านเราน้อยมาก และเป็นแค่ช่วงเวลาเดียวเท่านั้น ยิ่งระยะหลังๆ นี้ ไม่เจออีกเลย โดยทาง Centaur นั้น เน้นผลิต CPU ที่ราคาต่ำเอามากๆ หมายจะตีตลาดระดับล่างละครับ
Winchip C6 เป็น CPU ตัวแรกของค่ายนี้ ที่ออกแบบมาเน้นสำหรับตลาดระดับต่ำมากๆ เพราะมีราคาต่ำแบบสุดๆ แต่ว่า ประสิทธิภาพนั้น ยิ่งต่ำกว่าราคาเสียอีก ทำให้มันไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ทาง Centaur คาดหวังไว้ ... ใช้งานบน FSB 60,66,75 MHz บน Interface แบบ Socket 5 ใช้เทคโนโลยีการผลิต ขนาด 0.35 ไมครอน สนับสนุนชุดคำสั่ง MMX ด้วยความเร็วระดับ 180-240 MHz เปิดตัวในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1997
Winchip-2 CPU รุ่นที่ 2 จากค่าย Centaur ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน มี Cache ระดับ 1 ขนาด 64K ( Instruction 32K และ Data 32K ) ใช้ Cache ระดับ 2 บน Mainboard รองรับชุดคำสั่งทั้ง MMX และ 3DNow! ใช้งานบน Interface แบบ Socket 7 ด้วยความเร็ว 200-300 MHz และยังได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพตรงส่วนของการประมวลผลเชิงทศนิยมให้ดีขึ้นจากรุ่นเดิมอีกด้วย โดยจะใช้ FSB 100 MHz และลงสนามในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1998
Winchip-2A เป็น Winchip-2 ที่มีการแก้ไขข้อผิดพลาดตรงส่วนของชุดคำสั่ง 3DNow! นั่นเอง
Winchip-3 ก็ยังคงใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเช่นเดิม มี Cache ระดับ 1 ขนาด 64K ( Instruction 32K และ Data 32K ) แต่ได้เพิ่มหน่วยความจำ Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip Cache ขนาด 128K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และมอง Cache บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ไปโดยปริยาย โดย CPU รุ่นนี้ มีแผนการที่จะออกสู่ท้องตลาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 1999 ด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 300 MHz แต่สุดท้าย ก็ต้องถูกยกเลิก การเปิดตัว เนื่องจาก VIA ได้เข้าซื้อกิจการของ Centaur และ Cyrix นั่นเอง
Winchip-4 CPU ตัวนี้ มีแผนการจะปล่อยตัวในปลายๆ ปี ค.ศ. 1999 ด้วยความเร็วระดับ 400-500 MHz ใช้เทคโนโลยีในการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน และต่อมาก็จะใช้เทคโนโลยีการผลิต 0.18 ไมครอน ด้วยความเร็วระดับ 500-700 MHz และจะมีการเปลี่ยนแปลง Interface ในการเชื่อมต่อด้วยเช่นกัน แต่แล้วก็เช่นเดิมครับ ... VIA ครอบครองไปแล้ว
VIA ![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg4oYzWa8JMhyMggg1zF7WFisgJigmAbFVd1gROH7x2z9uNWrd_nUR73PF3ZbyNTeWIEK0J5FCfw9fa_W6byw1brwDr435dmybe9BpV0lpgs_p1PwXrZkbeRToaWt2GTSDHBZTSMx2wbdM/s320/via.jpg)
VIA หน้าเก่าในวงการ แต่หน้าใหม่สำหรับตลาด CPU .. หลังจากที่ได้ซื้อ Cyrix และ Centaur รวมเข้าไว้ด้วยแล้ว ก็เริ่มที่จะลุยตลาด CPU บ้าง โดยจะเน้นตลาดระดับล่าง เข้าชนกับ Intel Celeron และอาจจะชนกับทาง AMD K6-2 ( K6-2+ ) ด้วย ถึงแม้ปากจะบอกว่าไม่อยากชนกับทาง AMD แต่โดยการตลาดแล้ว ก็ยากที่จะเลี่ยง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg4oYzWa8JMhyMggg1zF7WFisgJigmAbFVd1gROH7x2z9uNWrd_nUR73PF3ZbyNTeWIEK0J5FCfw9fa_W6byw1brwDr435dmybe9BpV0lpgs_p1PwXrZkbeRToaWt2GTSDHBZTSMx2wbdM/s320/via.jpg)
VIA หน้าเก่าในวงการ แต่หน้าใหม่สำหรับตลาด CPU .. หลังจากที่ได้ซื้อ Cyrix และ Centaur รวมเข้าไว้ด้วยแล้ว ก็เริ่มที่จะลุยตลาด CPU บ้าง โดยจะเน้นตลาดระดับล่าง เข้าชนกับ Intel Celeron และอาจจะชนกับทาง AMD K6-2 ( K6-2+ ) ด้วย ถึงแม้ปากจะบอกว่าไม่อยากชนกับทาง AMD แต่โดยการตลาดแล้ว ก็ยากที่จะเลี่ยง
Joshua Joshua ... CPU จากค่าย VIA ตัวแรก ที่ใช้สถาปัตยกรรมของ Cyrix Gobi ( ใช้ Cayenne Core ) ซึ่งรายละเอียดต่างๆ นั้น สามารถอ่านได้ ในส่วนของ Cyrix Gobi ครับ
Cyrix III Cyrix III ซึ่งใช้ สถาปัตยกรรมแกนหลัก Samuel II เป็นตัวบุกหลัก ซึ่ง CPU รุ่นนี้ จะใช้ Interface เป็น Socket 370 ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.15 ไมครอน และใช้ไฟเลี้ยง 1.5V มี Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ Cache ระดับ 2 ขนาด 64KB โดยจะออกวางตลาดทั้งรุ่นที่ใช้ FSB 100 MHz ( คือรุ่นตั้งแต่ 650 MHz ขึ้นไป ) และ 133 MHz ( รุ่น 667 MHz ขึ้นไป ) และจะมีถึงรุ่นระดับความเร็ว 900 MHz เลยทีเดียวละครับ ส่วนด้านบรรจุภัณฑ์นั้น ก็จะมีทั้งที่เป็น CPGA , EBGA, uBGA ซึ่งคาดว่า 2 แบบหลังนั้น น่าจะเป็น CPU สำหรับ Mobile PC หรือ Notebook ละครับ
C3 จริงๆ แล้ว ก็คือ Cyrix III ละครับ แต่ทาง VIA ได้เปลี่ยนชื่อทางการตลาด เนื่องจากปัญหาทางการตลาด ด้วยเหตุที่ว่า ชื่อ Cyrix นี้ ถูกมองว่าเป็น CPU สำหรับผู้ต้องการประสิทธิภาพในระดับต่ำมากไปซะแล้ว ก็เลยเปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น C3 แทนนั่นเองครับ และ ส่วนหนึ่ง ก็อาจเป็นเพราะเรื่องลิขสิทธ์เรื่องชื่อ ของทาง Pentium !!! ด้วยละครับ ... เพื่อตัดปัญหาต่างๆ นาๆ จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น C3 เมื่อคราวงาน Cebit ต้นเดือนมีนาคมปีค.ศ. 2001 นี่เอง ... โดยรุ่นที่จะเริ่มเรียกชื่อ C3 ก็คือรุ่นความเร็วตั้งแต่ 733 MHz เป็นต้นไปละครับ
Samuel CPU ตัวที่ 2 ที่คลอดตาม Joshua มาติดๆ แต่ไม่จัดว่าเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน มันเกิดจากคนละแม่กันน่ะครับ เพราะตัวนี้ ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักของทาง Centaur เขา คือ Winchip-4 ... ใช้เทคโนโลยีการผลิต ขนาด 0.18 ไมครอน ด้วยความเร็ว 500-700 MHz ซึ่งงานนี้ ก็ดูเหมือนว่าจะออกมาชนกับ Intel Timna ซึ่งเป็น PC-On-A-Chip จากทาง Intel ละครับ เพราะคาดว่า เจ้า Samuel นี้ จะมีการรวมเอา หน่วยประมวลผลทางด้าน Graphic และ รวมเอา Chipset ตรงส่วนของ Northbridge เข้าไปไว้ใน Chip เดียวกันเลยด้วย นอกจากนี้ ก็ยังได้รวมเอา ชุดคำสั่ง SIMD ของ 3DNow! เข้าไว้ด้วยเช่นกัน คาดว่าจะใช้ Interface เป็นแบบ Socket370 เช่นเดียวกับ Joshua และมีกำหนดการวางตลาด ในไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... แต่สุดท้าย เจ้าตัวนี้ ก็มีแค่ชื่อครับ .. เพราะทาง VIA ได้ปรับเปลี่ยนแผนการณ์ใหม่ และได้เขี่ยเจ้า Samuel ออกจากสาระบบไปแล้ว
Samuel 2 Samuel 2 นี้ ก็มีชื่อรหัสภายในว่า C5B จะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-die ( อยู่บนแผ่น Die เดียวกันกับ CPU ) ขนาด 64KB และมี Cache ระดับ 1 แบบ On-Die ขนาดใหญ่กว่าเป็นเท่าตัวคือ 128KB ซึ่งจะเริ่มต้นที่ระดับความเร็ว 750 MHz ( ส่วน Cyrix III รุ่นแรกนั้น จะหยุดที่ความเร็ว 700 MHz ) และ Cyrix III ที่ใช้แกนหลักของ Samuel II รุ่นความเร็ว 800 และ 850 MHz ก็จะออกตามกันมาติดๆ ละครับ โดยทั้ง 3 รุ่นนี้ จะรองรับระบบ FSB ทั้ง 100 และ 133 MHz อีกด้วย Samuel 2 ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักของ WinChip C5B จะมาพร้อมกับ Cache ระดับ 2 ขนาด 64KB น่าจะถูกส่งลงลุยสนามกันตั้งแต่ปลายๆ ปี 2001 นี้ หรืออย่างช้า ก็ต้นปี 2002 โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.15 ไมครอน ใช้อลูมิเนี่ยมเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน และเป็นเนื้อสารแบบ 7 ชั้น ( 7 Layer ) แผ่น Die มีขนาด 52 ตารางมิลลิเมตร ใช้ไฟเลี้ยง 1.5 Volt มีความเร็วในระดับ 600 - 733 MHz
Mathew เป็น CPU ที่รวมเอาส่วนควบคุมต่างๆ เข้าไว้ใน Chip เดียว ที่คล้ายๆ กับ "PC On A Chip" ของ Intel เขาละครับ โดยทาง VIA นั้น ก็หมายจะปล่อยออกมาในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ค.ศ. 2001 ซึ่งก็จะใช้สถาปัตยกรรม แกนหลักในการประมวลผล เหมือนกับ Cyrix III คือใช้ Samuel II และจะรวมเอาส่วนของ North Bridge ซึ่งมีชื่อ Codename ว่า Twister คือ เป็น Apollo Pro266 ที่รวมกับ หน่วยประมวลผลด้าน Graphic 2D/3D จากค่าย S3 คือ Savage MX ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ PBGA แบบ 551 ขา ซึ่งก็คาดว่า ทาง VIA นั้น ก็อาจจะจับเจ้าตัวนี้ มาใช้กับ Mobile PC แทนละครับ
Ezra Ezra หรือ C5C นั้น จะเป็น CPU ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.13 ไมครอน ใช้สถาปัตยกรรมแกนหลักเดียวกันกับ C3 คือ Samuel 2 แต่ใช้ทองแดงเป็นตัวเชื่อมต่อภายใน ด้วยเนื้อสาร 8 ชั้น แต่จะมีขนาดของแผ่น Die ใหญ่กว่าเดิมคือ 75 ตารางมิลลิเมตร ใช้ไฟเลี้ยง 1.2 Volt และจะมาพร้อมๆ กับ Cache ระดับ 1 ขนาด 128KB และ มี Cache ระดับ 2 ขนาด 64 KB โดยมีความเร็วเริ่มต้นกันที่ 1 GHz ซึ่งคาดว่าน่าจะออกสู่ตลาดในช่วงปลายๆ ปี ค.ศ. 2001
C5X C5X ซึ่งจะเป็น CPU ที่มี Cache ระดับ 1 ขนาด 128 KB และ Cache ระดับ 2 แบบ On-Die ขนาด 256KB และสนับสนุน SSE ( Streaming SIMD Extension ) ของทาง Intel อีกด้วย ในขณะที่ Samuel II นั้น จะสนับสนุนเพียงแค่ Intel MMX และ AMD 3DNow! เท่านั้น นอกจากนี้ เจ้า C5X ก็จะใช้เทคโนโลยี การผลิตที่ 0.13 ไมครอน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากคู่ขาในการผลิต คือ TSMC ( Taiwan Semiconductor Manufacturing Co. Ltd. ) และจะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.2 GHz ครับ Transmeta น้องใหม่อีกค่ายหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้วงการแตกตื่นกันไม่น้อยเลยทีเดียว
Crusoe เป็นผลของการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งทางด้านเทคนิคและการตลาดของ Transmeta ถึง 5 ปี และได้เปิดตัว Crusoe ขึ้น ในวันที่ 19 เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ซึ่งทาง Transmeta นั้น ก็ออกปากว่าจะไม่ขอร่วมวงศ์ไพบูลย์แข่งขันกับทาง Intel และ AMD หรือ VIA ละครับ ( แต่ในความเป็นจริงนั้น ก็ไม่แน่ ... ขออย่าให้มีโอกาสแล้วกัน Transmeta เอาแน่ๆ ครับ :P ) และได้วางเป้าหมายเอาไว้ สำหรับเป็น CPU สำหรับ Mobile PC หรือ HPC มากกว่า ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version ที่มี Cache ระดับ 1 ขนาด 96K ไม่มี Cache ระดับ 2 คือรุ่นความเร็ว 333-400 MHz และอีก Version หนึ่งจะมี Cache ระดับ 1 ขนาด 125K และมี Cache ระดับ 2 ขนาด 256K คือรุ่นความเร็ว 500-700 MHz ใช้ระดับพลังงานไฟฟ้าไม่แน่นอน แล้วแต่จำนวนของงานที่ทำ ซึ่งก็เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับ 10-20mW ถึง 1-3W คาดว่าจะเริ่มลุยตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2000 นี้