วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2550

AMD vs. Intel

โหมโรง ... Prelude ปัจจุบันนี้การแข่งขันกันด้าน CPU นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านของราคา ประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ๆ ทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดนั้นรุนแรงขึ้นทุกๆวัน ซึ่งเมื่อก่อนนั้น เราก็ต้องยกให้ Intel เป็นเจ้าผู้ครองตลาด CPU แทบจะผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทที่แยกตัวออกมาจาก Intel และทำการผลิต CPU ของตนเอง ใช้ชื่อบริษัทว่า AMD ( Advance Micro Device ) โดยแรกๆนั้น ก็อาศัยแต่เพียงชื่อเสียงและสถาปัตยกรรมของ Intel เพื่อขอมีส่วนแบ่งในตลาดบ้างเท่านั้น แต่ต่อๆมา ก็กลับคิดและออกแบบสถาปัตยกรรมของตนขึ้นมาเพื่อลบล้างคำกล่าวที่ว่าลอกเลียนแบบ Intel และ ยังมีประสิทธิภาพที่สูง รวมถึงราคานั้นก็ต่ำกว่า CPU ของ Intel ในรุ่นเดียวกันอีก จนกระทั่งปัจจุบันนั้นก็ได้มีส่วนแบ่งในตลาด CPU ที่สูงทัดเทียม กับทาง Intel แล้ว AMD จะสามารถเทียบรอยเท้าของ Intel ทั้งในด้านของ Performance และ ส่วนแบ่งตลาดได้หรือไม่? Intel จะสามารถขจัดคู่แข่งทั้งหลายออกไป และจะยังคงเป็นผู้ครอบครองตลาด CPU แต่เพียงผู้เดียวอีกหรือไม่? ปัจจุบันนี้ CPU รุ่นล่าสุดจากทั้ง 2 ค่าย ค่ายไหน มีประสิทธิภาพ ต่อ ราคา ที่สูงที่สุด? และ จำเป็นหรือไม่ ที่ เราๆ ท่านๆ ซึ่งเป็นเพียงผู้บริโภค จะต้องรู้เรื่องเหล่านี้ด้วย? ซึ่งสำหรับคำถามนี้ ตอบได้ทันทีว่า จำเป็นครับ เพราะว่า แต่ละค่ายนั้น ก็มีจุดเด่น จุดด้อย ที่ต่างกัน และมีความสามารถที่เด่นๆ ต่างกัน เรา ซึ่งเป็นผู้บริโภค ก็ย่อมจะเลือก ในสิ่งที่ดีที่สุด และ เหมาะสมที่สุด กับตัวเรา ใช่ไหมครับ? นี่จึงเป็นเหตุให้เรามาวิเคราะห์ และ ศึกษาถึงการแข่งขันกันระหว่าง 2 ค่ายนี้กันนะครับ ทั้งในด้านของเทคโนโลยี และ การตลาด กันนะครับ
กาลครั้งหนึ่งเมื่อนานมา ... A History So Far ... เรื่องมันเกิดขึ้นหลังจากที่ AMD นั้น ได้แยกตัวออกมาจาก Intel และได้จับตลาดการผลิต chip ต่างๆ มากมายหลายรายการ แต่ก็เพิ่งจะมีศักยภาพ ในการผลิต chip CPU เทคโนโลยีสูงได้ เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ โดยแรกเริ่มนั้น ผลิตในปริมาณไม่มากนัก และ ทำผลิตออกมาเพื่อแข่งขันกับทาง Intel โดยผลิตชิบเลียนแบบ หรือเรียกกันว่า x86 compatible ซึ่ง รุ่นยอดนิยมก็ได้แก่รุ่น 386 ที่ผลิตตามหลัง Intel 80386 มาติดๆ โดยที่เรียกได้ว่า ลอกเทคโนโลยีกันมาเห็นๆเลย ถึงแม้ว่าทาง AMD จะออกมาประกาศ แก้ข่าวว่าไม่ได้ลอกเลียน แต่ความเป็นจริงๆที่เห็นๆ กันอยู่ก็คือสถาปัตยกรรมภายใน แทบเหมื่อนกัน 100% นั่นเอง และก็ไม่ใช่เพียง AMD เท่านั่น ที่ใช้ช่องว่างที่ Intel ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ ภายใต้ชื่อรุ่นของ CPU ที่เป็นตัวเลขได้ ยังมี Processer จากค่าย Texas Instrument, UMC, IBM, และ Cyrix ที่ได้ส่วนแบ่งทางเทคโนโลยีอันนี้ไปผลิตขายอีกด้วย และ AMD ก็ได้ใช้วิธีนี้ ผลิต CPU Compatible ตามหลัง intel มาเรื่อยๆ ในปี 1989 Intel ก็ได้เปิดตัว CPU ตระกูล 486 ของตนขึ้นมา ซึ่งมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งมีการรวมเอาหน่วยช่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ ( ในขณะนั้น เรียกว่า Math-Co Processor ) เข้ารวมไว้ใน CPU ตัวเดียวกัน และ ทั้งยังมีการเพิ่มหน่วยความจำขนาดเล็กเข้าไปใน CPU อีกด้วย เรียกว่าเป็น Cache ระดับ 1 ( L1 cache ) ซึ่งเป็นหน่วยความจำขนาดเล็กแต่มีความเร็วสูง ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ แต่ต่อมาทาง Intel ได้ออก CPU ตระกูล 586 โดยที่รุ่นนี้หันไปใช้ชื่อ Pentium แทนที่จะเป็นรุ่น 586 สาเหตุก็เพราะ เรื่องการจดลิขสิทธิ์ชื่อที่เป็นตัวเลขนั่นเอง (ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลข กฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์) จึงได้จดลิขสิทธิ์ชื่อของ CPU รุ่นที่ถัดจาก 486 เป็นชื่อ เพนเทียมแทน ( Pentium มาจาก Penta ซึ่งแปลว่า 5 ) แต่ทาง AMD นั้น ก็ยังคงใช้ชื่อในลักษณะเดิม คือ 5x86 ซึ่งก็ใช้สถาปัตยกรรมตามอย่าง Intel 486 นั่นเอง และทาง Cyrix นั้น ก็ใช้ชื่อ 5x86 เช่นกัน CPU ที่เป็น 5x86 ของทั้ง AMD และ Cyrix นั่น ใส้ในล้วนเป็น 486 engine ที่พัฒนาขึ่นมาเพื่อให้เหนือหว่า 486 ของ Intel และสามารถแข่งขันในตลาดของ Socket 3 (486) ได้เต็มที่ เมื่อทาง Intel เข้าสู่ Generation ที่ 5 และเปลี่ยนชื่อไปแล้วอย่างนั้น ก็มีผลกับทาง AMD และ Cyrix ซึ่งใช้การโฆษณาจากทาง Intel ในการขาย CPU ของตน ทำให้ AMD หันไปใช้ชื่อของตัวเองบ้าง โดย CPU ใน generaion ที่ 5 ของตนนั้น ให้ชื่อว่า AMD K5 ซึ่งใส่ฟังก์ชันต่างๆเป็น 2 เท่าของ Intel Pentium แต่ด้วยความล่าช้าในการผลิต ทั้งๆ ที่โปรโมทไว้ตั้งนานแล้ว ... ทำให้ CPU ของ AMD รุ่น K5 นั้นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร และ เท่าที่ทราบ ก็คือ ไม่มีการนำมาขายที่พันธ์ทิพย์พลาซ่าอย่างจิงจัง จะมีบ้างก็เพียงร้านที่หิ้วกันเข้ามาขายเอง เช่น CompWaxx เป็นต้น และช่วงนั้นเอง Cyrix จึงได้มีโอกาสสร้างชื่อกับ 6x86 ซีพียูตัวใหม่ที่ตามหลัง Pentium มาติดๆ โดย Cyrix ได้ทำสัญญาการร่วมมือผลิตชิป กับทาง IBM (ซึ้งมีข้อแม้ว่า หลังจากที่ IBM ผลิตชิปให้ Cyrix นำออกจำหน่ายได้ 2 เดือน IBM มีสิทธิที่จะจำหน่าย CPU รุ่นเดียวกัน ภายใต้ชื่อ IBM เองได้ด้วย ) และด้วยสาเหตุว่า Cyrix เป็น CPU ที่ราคาถูกกว่า Pentium ซึ่งมีราคาแพงมากในขณะนั้น พร้อมด้วยความสามารถที่ดี ไม่แตกต่างจาก Pentium มากนัก (ออกจะเร็วกว่าเล็กน้อย) CPU ของ Cyrix 6x86 จึงแทบจะครองตลาดระดับล่างในสมัยนั้นเลยทีเดียว โดยที่ AMD ช่วงเวลานั่น ได้เพียงแต่จ้องมองตลาดในพันทิพย์บ้านเราเท่านั่นเอง แต่การเปลี่ยนแปลงของ AMD ตรงนี้นี่เอง เป็นจุดเริ่มต้นของก้าวสำคัญของทาง AMD สำหรับ CPU ใน Generation ต่อมา ต่อมา ทาง Intel ก็ได้วางตลาด CPU Intel Pentium Pro นั้น รุ่นนี้ทาง Intel หมายจะทำออกมาเพื่อใช้สำหรับ WorkStation มากกว่า PC ตามบ้าน โดย เปลี่ยนแปลง Architecture อีกนิดหน่อย เช่น มีการรวม cache ระดับ 2 เข้าบน chip ของ CPU แลย ( แต่ไม่ได้อยู่ภายใน core CPU เหมือนกับ cache ระดับ 1 ) และได้เปลี่ยน Interface ไปใช้บน socket 8 แทน ( ซึ่งแต่เดิม CPU ตระกูล Pentium เป็นต้นมา ใช้ socket 7 ) ซึ่ง Pentium Pro นั้น มี Performance ในด้านการประมวลผลจำนวนเต็ม ได้สูงกว่า CPU ในตระกูล RISC ( Reduce Instruction Set Computer ) เช่น MIPS และ SPARC อยู่มาก แต่ ด้วยราคาที่แพงมาก ทำให้เป็นปัญหาหนักในการเข้ามาแย่งตลาดลูกค้า และ นี่จึงเป็นการเปิดโอกาส ให้กับทาง AMD และ Cyrix ได้เข้ามามีส่วนแบ่งมากขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน Intel ได้ประกาศเทคโนโลยีใหม่ ที่เพิ่มเข้าให้กับ CPU ซึ่งเป็นคำสั่งพิเศษโดยจะมาช่วยลดการทำงานของ CPU ลง และเพิ่มประสิทธิ์ภาพในด้านของ Multimedia ทั้งหมด 57 คำสั่ง... ใช่ครับ Intel ประกาศตัว MMX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ SIMD ( Single Instruction Multiple Data stream ) และได้ผลิต CPU Intel MMX ออกวางขาย เป็นรุ่นถัดมา และ แน่นอน .. AMD ก็หวังจะทำตลาดระดับล่าง คืนมาจาก Cyrix โดยได้ทำการ ก็ได้ซื้อบริษัทผลิต Chip CPU ที่เป็นน้องใหม่มาแรง ชื่อว่า NextGen เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีระดับสูงที่จะไล่ทันทาง Intel และใช้เวลาในการรวมกิจการอยู่นานพอสมควรแล้วจึงได้ ผลิต CPU ตัวที่มีประสิทธิภาพสูง และ เป็นก้าวที่สำคัญมากของ AMD นั้นก็คือ AMD K6 เป็น Generation ที่ 6 ของทาง AMD โดยได้เพิ่มคำสั่งด้าน MMX เข้าไปด้วยเช่นกัน (เรียกกันว่า MMX Enhanced) ซึ่งจะว่าเลียนแบบก็ได้ หรือจะว่าไม่เลียนแบบก็ได้ ... เพราะถึงแม้จะมีคำสั่ง MMX เหมือนกัน แต่โครงสร้างการทำงานของคำสั่งไม่เหมือนกัน และ สำหรับ CPU ของ AMD รุ่นนี้ ที่ Clock เท่าๆ กัน ก็มีความเร็วที่สูงกว่า Intel MMX ที่ Clock เท่าๆกัน ... ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะ มีการเพิ่ม cache ระดับหนึ่ง ใน CPU เป็น 2 เท่าของ Pentium MMX ( K6 มี 64K แต่ Pentium MMX มี 32 K ) และ K6 นี้ เป็น CPU ใน Generation ที่ 6 ในขณะที่ Pentium MMX นั้น เป็น CPU ใน Generation ที่ 5 ของ Intel ส่วนทาง IBM และ Cyrix นั้นก็ได้วางโครงการผลิต CPU ตระกูล 6x86MX ที่มีคำสั่ง MMX ออกมาเช่นกัน ... และในรุ่นนี้นั่น ไม่ค่อยจะได้ส่วนแบ่งในตลาดซักเท่าไหร่ และต่อมา Intel ก็ได้ทำการรวมเอา Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บน package เดียวกับ CPU กับ Technology MMX เข้าไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน รวมทั้ง เปลี่ยนแปลง Interface เสียใหม่ ไม่ใช้แล้ว ทั้ง Socket 7 และ Socket 8 แต่หันไปใช้ Slot-1 แทน แล้วให้ชื่อว่า Intel Pentium II เพื่อหวังจะมาข่ม AMD K6 ที่ออกมาก่อนหน้า เพียงไม่นาน เพราะ AMD K6 นั้น ในด้านของการประมวลผลด้านทศนิยม ( FPU หรือ Floatingpoint Processing Unit ) ยังห่างชั้น กับ Intel Pentium II ที่ระดับความเร็วเท่าๆกันอยู่มาก โดย AMD K6 300 MHz นั้น จะมี FPU performance ประมาณเท่าๆกับ Intel Pentium MMX 233 MHz เท่านั้น ปัญหานี้ค่อนข้างจะเป็นปัญหาหนักสำหรับ ทาง AMD มาก เพราะเกมส์ 3D ที่ออกมา ต่างก็จำเป็นต้องใช้ FPU สูงๆ ทั้งนั้น ย้อนกลับมาดูทางฝั่งของ Cyrix บ้าง ทาง Cyrix เองก็ประสบกับปัญหาใหญ่เช่นกัน เพราะในขณะนั้นทาง Intel มี CPU ที่มีความเร็วสูงถึง 400 MHz และ AMD ก็มีถึง 300 MHz แต่ คู่ขาของทาง Cyrix คือ IBM นั้นกลับไม่สามารถออกทำให้ความเร็วของ 6x86MX สูงกว่า 233 MHz ได้ ดังนั้นทาง Cyrix จึงได้ พยายามปรับปรุง 6x86 MX-PR 266 ( ซึ่งจริงๆ คือ 225 MHz ) ให้มีความสามารถเทียบเท่ากับ MII-300 ( จริงๆ คือ 233 MHz ) ซึ่งก็ได้แค่เพียงช่วยให้ตัวเองอยู่รอดได้เท่านั้น แต่หลังจากนั้นเพียงนาน AMD ก็ได้ประกาศเปิดตัว AMD K6-2 ขึ้น ซึ่ง โดยพื้นฐานเดิมๆ ก็มาจาก AMD K6 เดิมนั่นเอง เพียงแต่ได้แก้ไขบางส่วนเช่นปัญหาเรื่องความร้อนลงไปบ้าง และ สิ่งสำคัญ ที่เพิ่มเข้ามาบน K6-2 และ เป็นตัวที่ทำให้ AMD มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ไม่ใช่ เดินตามหลัง Intel อีกต่อไป นั่นก็คือ คำสั่งใหม่ๆ ที่เพิ่มเติม เข้ามาแบบ MMX ซึ่งเป็น SIMD enhance อีก 21 คำสั่ง โดยจะช่วยในการประมวลผลด้าน 3D .. ซึ่งความคิดนี้เกิดขึ้นจากที่ว่า โดยพื้นฐานของ CPU ของ AMD แล้ว จะมีความสามารถในการประมวลผล ด้านเลขทศนิยม ด้อยกว่าทาง CPU ของ Intel และ เกมส์ 3D ต่างๆ นั้น ก็ใช้ ทศนิยมในการคำนวนเป็นหลัก ทำให้ AMD พัฒนา 3Dnow! นี้ขึ้นมา ใช่ว่า 3Dnow! ที่เกิดขึ้นมานี้ จะเป็นที่ติดตลาดในทันที เพราะ คำสั่งดังกล่าว ต้องการ Driver ที่สนับสนุน และ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง code บางส่วน ของเกมส์ต่างๆ เพื่อให้ ใช้ความสามารถนี้ได้ ... ซึ่งในระยะแรกก็ดูเหมือนว่าลำบากอยู่เหมือนกัน จนกระทั่งยักษ์ใหญ่แห่งวงการ API 3D Game นั่นคือ Microsoft ผู้พัฒนา API DrirectX ได้ออก DirectX Ver 6.0 เพื่อมา Support 3Dnow! ของ AMD ทำให้ card 3D ต่างๆ ทั้งของ 3Dfx, nVidia, Matrox, S3, 3Dlabs และตัวอื่นๆ สามารถใช้ 3Dnow! ได้ แล้วผู้ผลิตเหล่านั่น ยังได้ประกาศว่าจะทำ Driver ของ Product ของตน ให้สนับสนุนฟังก์ชัน 3Dnow! จึงทำให้ software และ เกมส์ต่างๆ หันมาสนับสนุนกันมากขึ้น ในช่วงเวลาก่อนที่ทาง AMD จะเปิดตัว K6-2 ไม่นานนักนั้น .. ทาง Intel เอง ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดระดับล่าง เพราะถูกแย่งไปโดย ทั้ง AMD, และ Cyrix ไปมากแล้ว ( จะไปทนไหวได้อย่างไรล่ะ ) จึงได้ทำการประกาศตัว Intel Celeron ขึ้น ซึ่ง Celeron นั้น ก็ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกันกับ Pentium II เพียงแต่ ไม่มี cache ระดับ 2 มาด้วย เพื่อลดต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก โดยทาง Intel ประกาศว่า CPU Celeron ทุกรุ่น จะจำหน่าย ในราคาที่ไม่เกิน 200$ แต่ Intel เดินทางผิดเพราะ ถึงแม้ Celeron ที่ออกมานั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือพอพอกับ Pentium MMX และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว Intel จนทนเสียหน้าอยู่ได้อย่างไร แถม AMD ประกาศตัว K6-2 ออกมา ซึ่งใช้ cache ระดับ 2 บน Mainboard ได้ และ Mainboard บางยี่ห้อ ก็มี cache บน Mainboard ถึง 1MB เลยทีเดียว ทำให้ประสิทธิภาพของ AMD K6-2 นี้ ต่างกับ Celeron อย่างเห็นได้ชัด ในแทบทุกด้าน (จะมีก็แต่ด้านที่ต้องใช้ FPU หนักๆ และ ด้านการ OverClock เท่านั้น ที่ Celeron ทำได้ดีกว่า ) โดยเฉพาะกับด้าน Office Application ซึ่ง AMD K6-2 นี้ สามารถทำ Performance ได้ดีกว่า Intel Pentium II ที่ความเร็วระดับเดียวกัน ซะอีก Intel จึงร้อนก้น และได้ทำการแก้ไข Celeron เสียใหม่ โดยเพิ่ม cache ระดับ 2 ลงไปด้วย บนแผ่น Silicon ชิ้นเดียวกับ CPU เลย (On-die) แต่มีขนาดเป็น 1/4 ของ ที่มีบน Pentium II (128KB) แต่ให้ทำงานที่ความเร็ว เท่าๆ กับ ความเร็วของ CPU เลย (Realtime-clock) ซึ่งก็พอจะช่วยชดเชยเรื่องขนาด cache ที่เล็กกว่า PII ไปได้บ้าง ... และดึงตลาดระดับล่างกลับคืนมาได้บางส่วน เพราะราคาของ Celeron รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมานั้น ในระยะแรก ก็แพงกว่ารุ่นเดิมอยู่บ้าง แต่ก็ได้มีการหั่นราคากันลง แข่งกันไป แข่งกันมา จนราคาแทบจะเท่ากัน แต่ยังไง Celeron รุ่นใหม่นี้ ราคาก็ยังแพงกว่า AMD K6-2 ที่ความเร็วเท่าๆ กันอยู่อีกนิดหน่อยล่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จากรายงานที่ออกมาเมื่อเดือน มกราคม ( เมื่อต้นปี 1999 ) ก็พบว่า AMD นั้น มีส่วนแบ่งในตลาดมากถึง 43.9% ในขณะที่ทาง Intel นั้นกลับ ลดลงมาเหลือเพียง 40.3% นี่คงเป็นการบ้านให้ทาง Intel ต้องคิดหนักทีเดียว ... กับคู่แข่งอย่าง AMD เมื่อมาถึงรุ่นปัจจุบัน ... Intel ก็ได้เพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปใหม่ ในลักษณะของ MMX เพื่อหมายจะแข่งกับ 3Dnow! ของ AMD โดยให้ชื่อในตอนแรกว่า KNI หรือ Katmai New Instruction ซึ่งก็ไม่สื่อความหมายสักเท่าไรนัก ... และต่อมา ได้ทำการให้ชื่อเป็นทางการใหม่ว่า SSE หรือ Streaming SIMD Extensions ซึ่งก็เป็นชุดคำสั่ง MMX ใหม่ อีก 70 คำสั่ง ที่จะมาช่วยประมวลผลในด้านต่างๆ ไม่จำกัดแค่ด้าน 3D เท่านั้น และ ได้รวมชุดคำสั่งดังกล่าวนี้ เข้าไปใน CPU รุ่นถัดมา และตั้งชื่อว่า Intel Pentium !!! AMD เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า ได้ทำการประกาศเปิดตัว CPU ตัวใหม่ของตนขึ้นมาตามกำหมด (ก่อนอินเทลถึงสามวัน) ซึ่งซีพียูตัวใหม่นี้ ไม่ได้มีคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาแต่อย่างใด แต่จะมีก็เพียง การออกแบบ Core ภายในใหม่ (แกนกลางประมวลผล) แล้ว ตั้งชื่อว่าเป็น CXT core ซึ่ง ก็ได้ทดลองใช้ CXT core นี้ กับ CPU K6-2 รุ่น 380 MHz และ 400 MHz มาแล้ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ ให้ Performance โดยรวมดีกว่า Core เดิมที่ clock เดียวกัน ... สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับ CPU รุ่นใหม่ของ AMD นั้น ก็คือ ... มีการใส่ cache ระดับ 2 เข้าไปบน package ของ CPU เลย และ ยังคงใช้กับ Mainboard แบบเดิมที่ใช้กับ AMD K6-2 ด้วย ซึ่ง ทำให้ CPU มอง cache บน mainboard นั้นเป็น cache ระดับ 3 ... หรือ Tri-Level Cache และเรียกชื่อรุ่นใหม่นี้ว่า AMD K6-3 ซึ่งต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น AMD K6-III เพื่อให้คล้ายกับ Pentium !!! เอาละสิ ... เรื่องมันชักจะยุ่งซะแล้วสิ ... ว่าต่อไป ใครจะอยู่ ใครจะไป ...Intel จะดึงส่วนแบ่งตลาดคืนจาก AMD ได้ไหม? ... Pentium !!! ดีกว่า AMD K6-III หรือไม่? ... SSE กับ Tri-Level Cache อย่างไหนดีกว่า สำคัญกว่ากัน ... เราจะมาดูกัน เจาะลึก ลงระดับรายละเอียดต่างๆ ต่อไปครับ ...

ไม่มีความคิดเห็น: